เทคโนโลยีเปลี่ยนยุคธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่

เทคโนโลยีเปลี่ยนยุคธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่


เป็นประจำของทุกช่วงปลายปีจะมีบริษัท หรือสื่อต่างๆ จากหลายๆ สื่อ จะออกมาสำรวจ หรือจัดอันดับเทรนด์เทคโนโลยีในปี 2018 (Technology Trends 2018) ที่จะเข้ามารองรับสังคม ธุรกิจ หรือเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นผลของการสำรวจ PwC Global (PricewaterhouseCoopers) หนึ่งในสี่บริษัทตรวจสอบบัญชีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตลอดจนยังให้บริการที่ปรึกษาการเงิน ที่ปรึกษาภาษีอากร การจัดหาทรัพยากรบุคคล การให้บริการด้านเทคโนโลยี และอสังหาริมทรัพย์ ได้เผยผลการสำรวจ TBM : Tech Breakthroughs Megatrend ซึ่งได้ทำการสำรวจรูปแบบเทคโนโลยีกว่า 150 แบบทั่วโลก เพื่อค้นหาว่าเทคโนโลยีใด จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและกลุ่มอุตสาหกรรมมากที่สุด โดยประเมินจากผลกระทบต่อธุรกิจและศักยภาพในเชิงพาณิชย์ในอีก 5-7 ปีข้างหน้า สำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และ 3-5 ปี สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยผลจากการสำรวจพบว่า เทรนด์การใช้นวัตกรรมดิจิทัลจะเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน และการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนพลิกโฉมอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจส่งผลให้การจ้างงานมนุษย์ลดลง มีเทคโนโลยีสำคัญ 8 ประเภท (Essential Eight)ที่ภาคธุรกิจทั่วโลกต้องจับตา ได้แก่




 1. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligenceหรือ AI)
AI หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆ
อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ที่มีความฉลาด สามารถเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ หรือมีศักยภาพในการทำงานคล้ายหรือเทียบเท่ากับมนุษย์

ทั้งนี้ คำนิยามของ AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
  • การกระทำคล้ายมนุษย์ (Acting Humanly)
  • การคิดคล้ายมนุษย์ (Thinking Humanly)
  • การคิดอย่างมีเหตุผล (Thinking Rationally)
  • การกระทำอย่างมีเหตุผล (Acting Rationally)
AI เรียกง่ายๆ ก็คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง มีความเข้าใจ สามารถวางแผน คิด และวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ด้วยเหตุและผล จนสามารถตอบโต้ การสนทนาได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนั้นยังสามารถจดจำสิ่งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนได้อย่างลึกซึ้ง ตลอดจนมีความสามารถด้านคิดสร้างสรรค์ และสามารถปรับเปลี่ยนตัวเอง
ให้สอดคล้องกับข้อมูลใหม่ๆ ได้


 
2. ความเป็นจริงเสริม หรือโลกกึ่งเสมือนจริง (Augmented Reality หรือ AR)
AR เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างความเป็นจริง (Real world) เข้ากับโลกเสมือนที่สร้างขึ้น (Virtual world) โดยใช้วิธีซ้อนภาพ เสียง วิดีโอ ในโลกเสมือนบนภาพที่เห็นในโลกความเป็นจริงผ่านซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น แว่นตา AR ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ทำงานคลังสินค้าสามารถจัดระเบียบสินค้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ หรือช่วยผู้ผลิตในการประกอบเครื่องบิน และช่วยในงานซ่อมแซมไฟฟ้า รวมไปถึง การออกกำลังกายในลู่วิ่ง เมื่อสวมแว่น VR เข้าไปจะทำให้
การวิ่งนั้นมองเห็นวิวทิวทัศน์ในสถานที่ที่เราต้องการได้อย่างเป็นธรรมชาติ ปัจจุบันยังมีการนำ AR มาใช้พัฒนาในรูปแบบต่างๆ อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านความบันเทิง เกมส์ และกิจกรรมต่าง ๆ


 
3. บล็อกเชน (Blockchain)
บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยีการร้อยต่อข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด เป็นฐานข้อมูลที่มีการจัดการชุดข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการตรวจสอบความถูกต้องและความปลอดภัยซึ่งกันและกันตลอดชุดของข้อมูล โดยการทำงานของ บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูลDigital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain)ที่ทำให้ Block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกคน โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน  มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เมื่อเกิดการแก้ไขหรือเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน จะทำให้ทุกบล็อกรับรู้การแก้ไขนั้นๆ และสามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transactionโดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง โดยเนื้อแท้ของเทคโนโลยีจึงมีความปลอดภัยจากโครงสร้างที่เกิดขึ้น

ความสามารถของ บล็อกเชน เริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อถูกนำมาใช้งานในรูปของ Bitcoin หรือเงินเสมือนจริงที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ด้วยรูปแบบการบันทึกทุกกล่อง
เป็นสำเนาข้อมูลเหมือนกันหมด ทำให้มีความปลอดภัยมากกว่าการบันทึกด้วยมนุษย์หรือเครื่องมือบันทึกใดๆ ที่มีอยู่เดิม และนั่นก็ทำให้ ระบบบล็อกเชน ได้รับความสนใจ
และมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะวงการเทคโนโลยี และกลุ่มธุรกิจการเงิน เช่น ธนาคาร เป็นอย่างมาก โดยเชื่อว่า บล็อกเชน จะเป็นนวัตกรรมทางการเงิน
ที่มีความปลอดภัยและรวดเร็วมากกว่าเทคโนโลยีการเงินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาในระดับโลก เมื่อมองภาพรวมแล้ว
เรียกว่าเป็นเทคโนโลยีที่ต้องจับตามองชนิดไม่ให้คลาดสายตาเลยทีเดียว โดยเฉพาะในวงการธนาคารไทยที่ต้องปรับตัวตามให้ทันกับกระแสโลก


 
4. โดรน (Drones)
โดรน เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการบินที่ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถของการบินหลายระยะด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้โดรนเข้ามาแทนที่ในการบินหลากหลายระบบทั้งเล็กและใหญ่ เช่น อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles: UAVs) โดยใช้เทคโนโลยีบังคับเครื่องบินแทนมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบัน โดรน ถูกพัฒนา
ให้ใช้งานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและการบินสำรวจพื้นที่การเกษตร หรือพื้นที่ที่ต้องการการตรวจสอบและดูแล
นอกจากนี้มีการใช้โดรนเข้ามาช่วยในการทำงานหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางการทหาร ด้านความปลอดภัยและความมั่นคง การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การถ่ายภาพเคลื่อนไหว
ถ่ายทอดสดต่างๆ การถ่ายภาพมุมสูง การสำรวจ การเฝ้าระวัง รวมทั้งการขนส่ง เช่น จากเดิมที่ใช้เครื่องบินใส่ปุ๋ยและยาพืชไร่ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องโดรนที่บรรทุกปุ๋ย
และยาบินเข้าพื้นที่แบบอัตโนมัติตามการวางโปรแกรมการบินเพื่อจัดการพื้นที่ได้อย่างไม่หลงลืม ทำให้โดรนกลายเป็นเครื่องมือขนส่งที่ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง
ทางอากาศระยะไกลได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขนส่งคนหรือสิ่งของก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้น โดรนยังมีความสามารถในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ภาพหรือข้อมูลนั้นๆ
เช่น วิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environmental impacts) ในบริเวณนั้นๆ และยังวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ เป็นต้น
ด้วยประโยชน์ของโดรนที่มีมากมายมหาศาลนี่เอง ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลกนำโดรนมาใช้งานในรูปแบบต่างๆ


 
5. อินเตอร์เน็ตเพื่อทุกสิ่ง (Internet of Things หรือ loT)
loT คือ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ หรือการที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันหรือสื่อสารระหว่างกันผ่านเซนเซอร์ ซอฟต์แวร์หรือระบบเชื่อมต่อเครือข่าย เพื่อให้สามารถจัดเก็บ รวบรวม แม้กระทั่งแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยไม่ต้องผ่านมนุษย์ หรือทำให้มนุษย์สามารถสั่งการและควบคุม
การใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือยานพาหนะต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น การสั่งเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้สำนักงาน
เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม บ้านเรือน รวมไปถึงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ

 
6. หุ่นยนต์ (Robots)
หุ่นยนต์เป็นเป้าหมายใหม่ของการทดแทนแรงงานในอนาคต เพื่อเข้ามาช่วยการทำงานของมนุษย์ เนื่องจากงานบางชนิดเป็นการใช้แรงงานที่ต้องทำงานซ้ำๆอย่างเช่น งานในโรงงาน ทั้งการยกของจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง หรือทำงานซ้ำแบบเดิมตามไลน์การผลิต จนเกิดปัญหาสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน หรือแม้กระทั่ง
เกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน และนอกจากอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว หุ่นยนต์ยังสามารถเข้าไปแทนที่การทำงานในแง่มุมที่มีความเสี่ยงสูง
เช่น หุ่นยนต์ดับเพลิง
กู้ภัย หรือแม้กระทั่งหุ่นยนต์ให้บริการ ทำให้ในอนาคต หุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์มากขึ้น
ปัจจุบันหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ทั้งในและนอกอุตสาหกรรมการผลิต เนื่องจากมีโปรแกรมการทำงานที่หลากหลาย ทั้งยังมีความสามารถในเรียนรู้ มีความจำและทำตามระบบ
หรือคำสั่งที่วางเอาไว้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเคลื่อนไหวได้คล้ายกับมนุษย์อีกด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้การจ้างงานมนุษย์ในอนาคตอาจลดลง

 7. โลกเสมือนจริง (VR : Virtual Reality)

VR เป็นเทคโนโลยีการจำลองภาพสามมิติ หรือสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยต้องใช้งานผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ได้ยินเสียงรอบทิศทางภายในพื้นที่ที่กำหนด ซึ่งหากมองแบบผิวเผิน อาจจะดูใกล้เคียงกับ AR แต่จริงๆ แล้วมีความต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะวิธีการใช้หรือรูปแบบที่นำไปใช้  นั่นเพราะ AR
ที่เป็นเทคโนโลยีซ้อนภาพที่เห็นในจอให้กลายเป็นวัตถุ 3 มิติอยู่บนพื้นผิวจริง แต่  VR เป็นสิ่งที่อยู่ในโลกเสมือนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ร่างกายเพียงตอบสนองกับสิ่งที่เห็นเพื่อฝึกฝนหรือเพื่อความบันเทิง โดยที่ไม่มีการซ้อนกันของโลกความเป็นจริงแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น การทำเครื่อง VR เพื่อฝึกบินเครื่องบินตามรุ่นต่างๆ
ช่วยลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการฝึกบินบางส่วน หรือการฝึกผ่าตัดของแพทย์เพื่อความเชี่ยวชาญ แน่นอนว่าเครื่องเหล่านี้สร้างระบบครอบการรับรู้ของมนุษย์ทั้งหมดไว้เพื่อสร้างโลกเสมือนที่อาจจะใกล้เคียงหรือไม่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เป็นอยู่ก็เป็นได้



 
8. เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ มิติ (3D Printing)
3D Printing เป็นเทคนิคการสร้างชิ้นงานด้วยการเติมวัสดุเพื่อสร้างภาพดิจิทัล 3 มิติ โดยการพิมพ์วัสดุทีละชั้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer)
สามารถสร้างชิ้นงานได้ด้วยวัสดุหลากหลายแบบ ทั้งพลาสติก ยาง โลหะ ไนล่อน อัลลอย ฯลฯ แบ่งได้เป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวิธีการขึ้นรูปชิ้นงาน และวัสดุที่
สามารถพิมพ์ได้
ถึงแม้เครื่องพิมพ์แต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันแต่หลักการพื้นฐานยังเหมือนเดิม คือ “ขึ้นรูปชิ้นงานโดยการเติมเนื้อวัสดุทีละชั้น” ฟีเจอร์การทำงาน
ก็เป็นแบบดิจิทัลที่สั่งงานโดยคอมพิวเตอร์ ค่อยๆ ขึ้นรูปวัสดุตามที่ต้องการไปทีละขั้นทีละตอน และนั่นก็ทำให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เป็นที่หมายปองของนักออกแบบ
เพราะเพียงเวลาไม่นาน แบบที่ร่างไว้ในคอมพิวเตอร์ก็จะถูกพรินต์ออกมาเป็นโมเดล 3 มิติ ที่จับต้องได้ ด้วยจุดเด่นของการทำงานที่ไม่จำกัดจำนวน และรวดเร็ว
ทำให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ สามารถตอบโจทย์ให้กับแวดวงต่างๆ และเข้าไปอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นทางการศึกษา (Education) อุตสาหกรรม
การออกแบบ (Industrial Design) อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive) งานด้านวิศวกรรม (Engineering) งานด้านสถาปัตยกรรม (Architecture)
การแพทย์ และทันตกรรม (Medical & Dental) การออกแบบแฟชั่นและเครื่องประดับ (Fashion & Jewellery) การบินและอวกาศ (Aerospace) อาหาร (Food)
และอื่นๆ อีกมากมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น